กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข

บทบาทหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์และธุรกิจด้านสุขภาพรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายด้านผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพอีกทั้งยังคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสาธารณสุขรวมกับการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบธุรกิจสุขภาพตลอดจนการวิจัยพัฒนางานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและงานเภสัชกรรม

สสจ.นครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

โครงสร้างกลุ่มงาน

กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข (Pharmaceutical and Health consumer Protection) จัดตั้งสอดคล้องกับโครงสร้างหน่วยงานภายในราชการบริหารงานส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขตามมติ อ.ก.พ.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ภายใต้การควบคุมกำกับของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชมีภารกิจหลักเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ

งานกำกับดูแลก่อนออกสู่ท้องตลาด

(Pre-marketing Control) การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดก่อนถึงมือผู้บริโภค

งานกำกับดูแลหลังออกสู่ท้องตลาด

(Post-marketing Control) การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตและการบริการ การโฆษณา รวมถึงการจำหน่ายอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

งานระบบยาและเวชภัณฑ์

การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ ระบบตรวจสอบภายในและควบคุมภายใน

งานพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค

การพัฒนาเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคของท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาบริการทางเภสัชกรรม

งานอาหารปลอดภัย

การพัฒนาขับเคลื่อนนโยบายด้านอาหารปลอดภัยระดับจังหวัด ระบบตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารสด

งานวิชาการและการวิจัยพัฒนา

การวิจัยพัฒนาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข งานวิชาการทางเภสัชกรรม

ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพเบ็ดเสร็จ

One Stop Service Center: OSSC จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนบริการให้คำปรึกษา อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาติดต่อขออนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีขั้นตอนที่สั้นกระชับ ไม่ว่าจะเป็นการขอรับคำปรึกษา การยื่นคำขอ การขอรับใบอนุญาต การชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้สามารถมาติดต่อ ณ จุดเดียว

  • การให้คำปรึกษา (Consultation) เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพ
  • การรับคำขอและพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพ
  • การตรวจประเมินสถานที่ (Mandatory Inspection) ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
  • การประสานงานวินิจฉัยจำแนกผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ค่านิยมศูนย์บริการ ; ถูกต้อง ฉับไว เต็มใจบริการ (Accurate, Rapid, Service-minded)

กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการควบคุมกำกับดูแลผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

พระราชบัญญัติ

  • พระราชบัญญัติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • พระราชบัญญัติเกี่ยวกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
  • พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
  • พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

  • กฎกระทรวงที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพ
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการรับเงินที่จัดเก็บตามกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์

บทความ รายงาน สถิติ

การเผยแพร่บทความ รายงานและสถิติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพ

  • รู้ทันกลโกงโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพลวงโลก
  • สเปรย์และยาทากันยุง เด็กเล็กควรระวัง
  • ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเพื่อปราบ โควิด-19
  • รายงานผลการดำเนินการตามคู่มือประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  • รายงานผลการประเมินความพึงพอใจศูนย์บริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  • บทบาทหน้าที่ความแตกต่างระหว่าง สคบ. และ อย.
  • กฎหมายคุ้มครองการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อออนไลน์

การรับแจ้งเบาะแสการกระทำผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพ

Health Product Surveillance Procedure ประเด็นที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการแจ้งเบาะแส ดังนี้

  • ผู้บริโภคพบความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น สินค้าหมดอายุ ฉลากสินค้าไม่ครบถ้วน เป็นต้น
  • ผู้บริโภคพบโฆษณาหลอกลวงหรือทำให้เข้าใจผิด เช่น โฆษณาเครื่องดื่มสมุนไพรผ่านสื่อวิทยุรักษาโรค เป็นต้น
  • ผู้บริโภคพบการประกอบกิจการเพื่อสุขภาพที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น คลินิกไม่ได้รับอนุญาต การจัดฟันแฟชั่น เป็นต้น
  • ผู้บริโภคพบการผลิต นำเข้าหรือขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอม เช่น พบการนำเข้าเครื่องสำอางปลอม เป็นต้น
  • ผู้บริโภคพบการผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ห้ามใช้ เช่น ยาชุด ครีมทาฝ้าที่มีสารปรอท เป็นต้น
  • ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์หรือจากการใช้บริการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
  • ผู้ประกอบการพบปัญหาการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ การให้บริการล่าช้าเกินสมควร การประพฤติมิชอบ
  • ช่องทางการร้องเรียน : ด้วยตนเองที่ศูนย์บริการ, โทร 075343409 ต่อ 121, อีเมล์ fda80000@gmail.com

    อินโฟกราฟิก

    รวบรวมข้อมูลอินโฟกราฟิกที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจของประชาชนและผู้ประกอบการ

    ระบบงาน

    ระบบงานของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์และธุรกิจสุขภาพเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการสำหรับยื่นคำขออนุญาตผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการยืนยันตัวตนกับทางศูนย์บริการก่อนการเข้าใช้งานระบบก่อนใช้บริการ

    ระบบให้คำปรึกษา

    • วินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์
    • ขอคำแนะนำก่อนการตัดสินใจดำเนินการ
    • สอบถามข้อกำหนดเงื่อนไขการยื่นคำขอ
    • ประสานงานความช่วยเหลือผู้ประกอบการ
    • ประสานงานการยื่นคำขอกับหน่วยงานอื่น
    เริ่มต้น

    ระบบเอกสาร

    • เอกสารคำแนะนำก่อนยื่นขออนุญาต
    • เอกสารคำขออนุญาต
    • เอกสารชี้แจงเพิ่มเติมคำขออนุญาต
    • เอกสารคำแนะนำหลังได้รับใบอนุญาต
    • เอกสารแบบฟอร์มอื่นๆ
    เริ่มต้น

    F.A.Q.

    คำถามที่พบบ่อย (Frequently asked question) รวมรวบคำถามที่ประชาชนหรือผู้ประกอบการสอบถามด้วยตนเองหรือผ่านช่องทางสื่อสารของกลุ่มงานเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับค้นหาที่เป็นทางการและเชื่อถือได้สำหรับประชาชนท่านอื่นโดยจำแนกตามความถี่ที่คำถามนั้นถูกถามบ่อยที่สุด

    ติดต่อเรา (Contact Us)

    ช่องทางการมาติดต่อกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขและศูนย์บริการด้วยตนเองสามารถเดินทางมาโดยระบบขนส่งสาธารณะโดยท่านสามารถใช้รถโดยสารสาธารณะ มองหาตลาดท่าม้าหรือศาลากลาง ลงรถโดยสารที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

    ที่อยู่

    478 ถ.เทวบุรี ต.โพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000

    โทร

    (+66) 0 7534 3409 ต่อ 421
    (+66) 0 8189 3874 8

    อีเมล์

    fda80000@gmail.com
    fdapv80@fda.moph.go.th

    วันเวลาทำการ

    จันทร์ - ศุกร์: 8.30 - 16.30
    (วันเวลาราชการ)

    Loading
    Your message has been sent. Thank you!